รู้ทัน!มิจจี้ รวมทริคกลโกงที่ใช้หลอกลวงเหยื่อ พร้อมวิธีรับมือ | Micro Leasing

รู้ทัน!มิจจี้ รวมทริคกลโกงที่ใช้หลอกลวงเหยื่อ พร้อมวิธีรับมือ

04 July 2025
AW รู้ทันมิจฉาชีพ-01.jpg


   ทุกวันนี้มิจฉาชีพออนไลน์พัฒนา “กลโกง” แปลกใหม่ขึ้นทุกวัน ทั้งหลอกให้กดลิงก์ปลอม โทรแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่สวมรอยเป็นคนรู้จักเพื่อขอเงิน หลายคนต้องสูญเงินเก็บทั้งชีวิตเพราะความประมาทเพียงเสี้ยววินาที

บทความนี้จะพาคุณรู้ทันกลโกงยอดฮิต และแนะนำวิธีป้องกันตัวอย่างละเอียด เพื่อให้คุณและคนที่คุณรักปลอดภัยจากภัยออนไลน์กันค่ะ

 

1.หลอกขายสินค้าออนไลน์
จะเป็นกลอุบายที่นำเสนอขายสินค้าบางอย่างซึ่งจะจูงใจด้วยราคาที่ถูกกว่าปกติแล้วให้โอนเงิน แต่ไม่ได้รับสินค้า

2.หลอกให้ทำงานเสริมผ่านออนไลน์
โดยชักชวนทำงานออนไลน์ที่ไม่มีอยู่จริง อ้างแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ เช่น TikTok, YouTube, Lazada เป็นต้น โดยหลอกลวงให้ กดไลค์ กดแชร์ เพื่อเพิ่มยอดวิว แกล้งรับออเดอร์ ทำสต็อกสินค้า แต่เมื่อทำให้มีการลงทุน หรือทำไปแล้วกลับไม่ได้เงิน

3.หลอกให้กู้เงินออนไลน์  (เงินกู้ทิพย์)
หลอกเอาข้อมูล เงินค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม เลขที่บัญชีธนาคารจากเหยื่อ (ดอกเบี้ยโหด) โฆษณาชวนเชื่อ กู้โดยไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน หลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคลในโทรศัพท์ของท่าน (เหยื่อ) เพื่อโทรตามทวงหนี้คนใกล้ชิด เรียกดอกเบี้ยโหด และให้ใช้ชดใช้หนี้ไม่มีหมด

4.ข่มขู่ทำให้หวาดกลัว (Call Center)
โทรศัพท์มุ่งเป้าหาเหยื่อ โดยแจ้งว่า ท่านเกี่ยวข้องกับการส่งพัสดุผิดกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมาย หรือโดนอายัดบัญชีธมาคาร แล้วอ้างเป็นตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ข่มขู่เรื่องกฎหมายฟอกเงิน ให้ท่าน (เหยื่อ) โอนเงินโดยพลการ

5.หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ
โดยอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีจริง ให้ผลตอบแทนสูง สร้างภาพความน่าเชื่อถือ เช่น ลงทุนในธุรกิจน้ำมัน พลังงาน ทองคำ เงินดิจิทัล ตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ เกมออนไลน์ เป็นต้น

6.การหลอกลวงเชิงรัก (Romance Scam)
โดยปลอมแปลงโปร์ไฟล์เป็นบุคคลที่ดูน่าเชื่อถือหรือหน้าตาดี เข้ามาตีสนิททำความรู้จักผ่านแอปพลิเคชันหาคู่หรือบัญชีออนไลน์ จนเหยื่อเกิดความไว้ใจและมีความรู้สึกเชื่อมโยงทางอารมณ์ จากนั้นจะใช้ความสัมพันธ์หลอกให้เหยื่อโอนเงิน โดยอ้างเหตุผลต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการส่งของจากต่างประเทศ หรือชวนลงทุนในแอปหรือเว็บไซต์ปลอม เช่น เทรดหุ้น เงินดิจิทัล หรือทองคำ โดยสัญญาผลตอบแทนสูง แต่สุดท้ายเหยื่อต้องสูญเงินทั้งหมด

7.แชร์ลูกโซ่
ที่พบได้บ่อยและมีผู้เสียหายตั้งแต่จำนวนเงินน้อยๆ ไปถึงหลายร้อยร้านจากแชร์ลูกโซ่ที่มีการสร้างเครือข่ายที่น่าเชื่อถือได้เงินปันผลสูงในช่วงแรกและช่วงหนึ่งจะหายไปพร้อมกับเงิน โดยที่ไม่สามารถติตต่อได้อีก

8.ปลอม หรือ แฮกบัญชีผู้ใช้งาน
จะเป็นกลโกงที่พยายามแฮกข้อมูลเพื่อใช้บัญชีในการทักไปยืมเงินจากบุคคลที่เคยมีบทสนทนาที่คาดว่าเป็นเพื่อนของผู้ใช้บัญชีให้โอนเงินเข้ามา

9.พนันออนไลน์
อีกหนึ่งกลโกงที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานกับการพนันออนไลน์ที่มีการโฆษณาโจ่งแจ้งผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อล่อลวงให้ผู้ที่หลงเชื่อเข้ามาเล่นการพนันซึ่งในช่วงแรกจะได้มากกว่าเสียซึ่งหลังๆ ก็มีหลายคนที่สูญเสียเงินมากมายต้องขายบ้าน ขายรถก็มี

10.หลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม
อาจจะเป็นการส่งลิงก์เข้ามาผ่านทางอีเมล์ หรือแจ้ง Pop Up บนเว็บไซต์เพื่อให้ดาวน์โหลดโปรแกรมซึ่งหากมีการดาวน์โหลดจะดูดเอาข้อมูลสำคัญบางอย่างไปใช้ในทางที่ไม่ดี

11.หลอกให้คลิกลิงก์ต่างๆ
จะเห็นได้ตามสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ให้คลิกก์ลิงก์นี้เพื่อไปยังหน้าต่อไป ซึ่งเราต้องตรวจสอบดีๆ ว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะหากคลิกลิงก์ไปแล้วจะมีการดูดเอาข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บแลตเราออกไปได้

12.การส่ง QR Code
จะมาในรูปแบบคืนเงินค่าสินค้าผ่าน QR Code ซึ่งจะเป็นกลวิธีที่จะโอนเงินให้กับคนร้าย หรือหลอกให้กรอกข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือรหัสผ่านเพื่อขโมยเงิน

13.โฆษณาเชิญชวนไปทำงานต่างประเทศ
จะเป็นการเปิดรับสมัครงานให้ไปทำงานต่างประเทศ เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ตอบลูกค้าแต่ได้รายได้วันละ 4,000 – 8,000 บาท แต่เมื่อไปจริงอาจจะถูกหลอกให้ไปขายบริการ หรือทำงานที่ผิดกฎหมาย

14.หลอกว่าเป็นหน่วยงานจากรัฐ หรือองค์กรต่างๆ
มิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเจ้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่องค์กรต่างๆ บริษัทขนส่ง หรือบุคคลชื่อเสียง เป็นต้น เพื่อหลอกให้บอกข้อมูลส่วนตัว กดลิงก์ โหลดแอป หรือโอนเงิน

15.หลอกให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย
โดยจะเป็นการจ้างงานที่บอกว่าไปรีวิวสินค้า ถ่ายแบบเพื่อแลกกับเงินเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเมื่อไปถึงสถานที่ได้มีการบังคับให้ถ่ายรูปโป๊เปลือย หรือมีเพศสัมพันธ์

16.ข่าวปลอม (Fake News)
เป็นการเผยแพร่ข่าวที่ไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งสร้างอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ที่เสพสื่อโดยไม่กรองข้อมูลและส่งผลกระทบแก่ผู้ที่โดนกระทำที่อาจถูกกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์

17.เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ (Ransomware)
จะเป็นการหลอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรม แนบไฟล์ หรือติดตั้งลิงก์เข้ากับคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำให้เครื่องล็อคไม่สามารถใช้งานได้ ผู้เสียหายจะต้องจ่ายเงินเพื่อปลดล็อคถึงจะใช้งานได้

18.นัดบอท/นัดเดทออนไลน์
การนัดเดทออนไลน์ถือว่าได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน แต่ก็มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีหลายคนที่อาศัยช่องทางเหล่านี้ในการนำเหยื่อที่นัดเดทไปกระทำชำเรา หรือสร้างความเสื่อมเสียให้แก่เหยื่อ

19.ได้รับรางวัลต่างๆ
จะมีการส่งลิงก์มาในรูปแบบท่านเป็นผู้โชคดีได้รับทองคำ ได้รับรางวัลพิเศษ ได้ตั๋วเครื่องบินฟรี แต่จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนรับรางวัลเพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ์

20.หลอกลวงให้บริจาค
จะเห็นได้หน้าฟีดสื่อโซเชียลต่างๆ ว่ามีเปิดรับบริจาคช่วยเหลือสัตว์ บุคคล สร้างวัด หรือทำบุญเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ชีวิต หรือต่อชีวิตให้แก่สัตว์ซึ่งโอนไปแล้วเงินเหล่านี้ไม่ได้นำไปใช้ในการบริจาคจริงๆ

21.ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร หรือ บัญชีม้า
จะเป็นการรับเปิดบัญชีให้คนร้าย นำไปใช้ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงิน หลอกลวงออนไลน์ หรือฉ้อโกง หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่า การให้ข้อมูลบัญชีหรือเปิดบัญชีให้ผู้อื่นใช้งาน อาจทำให้ตัวเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการโดยไม่ตั้งใจ

22.หลอกรับซื้อภาพถ่าย
ชักชวนให้ทำภารกิจส่งเสริมการตลาดเพื่อรับรายได้เพิ่ม มิจฉาชีพสร้างเพจปลอมบน Facebook หลอกให้สมัครขายภาพถ่าย อ้างรายได้ดีวันละหลายพัน! แต่ระวังจะเสียเงินฟรี โดยกลโกงที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงคือ
  • เปิดเพจรับซื้อภาพภ่าย: รับซื้อภาพถ่ายทั่วไป รวมทั้งภาพจากมือถือ
  • โฆษณาเน้นได้เงินง่าย: พร้อมบอกผลตอบแทนที่เกินจริง
  • ให้แอดไลน์เพื่อส่งภาพ: และหลอกถามข้อมูลส่วนตัว
  • ชักชวนให้ทำภารกิจพิเศษ: เพื่อรับโปรโมชันและรายได้เพิ่ม
  • ให้โอนเงินก่อนรับรายได้: อ้างว่าเป็นการยืนยันตัวตนและบัญชี
23.หลอกให้รับพัสดุเก็บเงินปลายทาง
แก๊งมิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อชำระเงินค่าสินค้าที่เหยื่อไม่ได้ มีทั้งหลักร้อย และหลักพัน ส่วนมากจะเป็นกล่อง ไม่ใช่ถุงหรือซอง เนื่องจากตรวจสอบของที่อยู่ภายในได้ยากกว่า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นพัสดุของเราแน่ๆ หรือเปล่า ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่า นั่นไม่ใช่พัสดุที่เราสั่งมา ให้ปฏิเสธไม่รับพัสดุนั้นทันที

 

close-up-hand-holding-phone.jpg

วิธีป้องกันและรับมือกับกลโกงมิจฉาชีพ

  • ตั้งสติให้มั่น
    ก่อนรับโทรศัพท์ อ่านข้อความ หรือติดต่อกับใครให้เรามีสติอยู่กับเนื้อกับตัวเสมอ เพื่อใช้สติในการไตร่ตรองว่าข้อมูลที่เราได้รับมานั้นจริงหรือมั่วหรือมีส่วนไหนที่น่าสงสัยหรือไม่ หากพบว่าข้อมูลนั้นไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับคุณหรือน่าสงสัย ให้หยุดการติดต่อกับบุคคลนั้นๆ ทันที
  • ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
    มิจฉาชีพมักแอบอ้างชื่อหน่วยงานหรือคนที่เรารู้จักเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องตรวจสอบซ้ำๆ เพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการหรือหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างนั้นเป็นของจริงหรือไม่ เช่น มีการเรียกเก็บค่าไฟเพิ่มเติมผ่านการโทรศัพท์จริงหรือ หรือการคืนเงินภาษีส่วนเกินของกรมสรรพากรมีอยู่จริงหรือ การตรวจสอบอาจใช้การโทรสอบถามหรือดูจากแหล่งตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์ทางการที่เชื่อถือได้
  • ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัว
    หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินกับคนแปลกหน้า แม้ผู้ติดต่อจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการหรือสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์และลงข้อมูลในเว็บไซต์
  • ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
    การเข้าแอปหรือการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบนโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ควรมีการเข้ารหัส เพื่อไม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายๆ
  • ไม่กดลิงก์แปลกๆ
    ไม่ควรกดลิงก์แปลกๆ ที่ส่งมาทางไลน์ เฟสบุ๊ค หรือ SMS ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากคนที่รู้จักหรือไม่ก็ตาม
  • ไม่ดาวน์โหลดไฟล์แปลกๆ
    หากมีการแนบไฟล์มากับข้อความไม่ควรดาวน์โหลดก่อนตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นไฟล์ที่ปลอดภัย ส่วนการติดตั้งแอพควรติดตั้งบน Play Store หรือ App Store เท่านั้น
  • ไม่โอนเงินให้บุคคลแปลกหน้า
    หากมีคนแปลกหน้าขอให้โอนเงินให้ หรือขอให้ทำธุรกรรมการเงินใดๆ ให้ไม่ควรทำเด็ดขาด เพราะคุณอาจกลายเป็นเหยื่อหรือผู้ร่วมกระทำความผิดโดยไม่รู้ตัว
  • แจ้งความหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    หากตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ไม่ต้องอาย ให้รีบแจ้งความหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพราะอาจยับยั้งการหลอกลวงของมิจฉาชีพได้ หรืออาจเป็นการแจ้งเบาะแสเพื่อนำไปสู่การจับกุมเหล่ามิจฉาชีพออนไลน์นี้ต่อไป

   มิจฉาชีพออนไลน์ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนารูปแบบกลลวงในการล่อเหยื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและแนบเนียนทำให้บางครั้งชะล่าใจ หลงเชื่อได้ง่าย ดังนั้น จึงควรตรวจสอบลิงก์ ข้อความ หรือการร้องขอข้อมูลส่วนตัวทุกครั้งว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ พร้อมอัพเดตและติดตามข่าวสารเพื่อรู้เท่าทันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ หรือหากตกเป็นเหยื่อแล้วก็ให้ติดต่อตำรวจ เจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินทันทีเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เงินไหลออกจนหมดบัญชี



มองหา สินเชื่อซื้อขายรถบรรทุกมือสอง ไมโครลิสซิ่งเป็นอะไรที่เหมาะสมสำหรับคุณ เพราะที่นี่มีขั้นตอนการอนุมัติที่ง่ายและประสิทธิภาพ ทราบผลไว ให้วงเงินสูง มีบริการถึงบ้านทั่วประเทศและดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.66% มีโปรโมชั่นพิเศษอีกมากมาย แถมคุณสามารถ ค้นหาสาขาที่ใกล้บ้านคุณ ได้ด้วย

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมของ ไมโครลิสซิ่ง ขวัญใจสิบล้อ
Website: 
https://www.microleasingplc.com
Tiktok: https://www.tiktok.com/@microleasing
Facebook : https://www.facebook.com/Microleasing
Youtube : https://www.youtube.com/@microleasing
Line Official Account: @microleasing